top of page

ประเภทของลิเก
2. ลิเกลูกบท หมายถึง การแสดงผสมกับการขับร้องและบรรเลงเพลงลูกบท ร้องและรำไปตามกระบวนเพลง ใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์ประกอบแทนรำมะนา แต่งกายตามที่นิยมในสมัยนั้น แต่แต่งสีฉูดฉาดมากขึ้น ผู้แสดงเป็นชายล้วน เมื่อแสดงหมดแต่ละชุด ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลง 3 ชั้นที่เป็นแม่บทขึ้นอีก ก่อนจะออกลูกหมดเป็นภาษาต่าง ๆ ชุดอื่น ต่อไปใหม่
4. ลิเกป่า เป็นศิลปะการแสดงที่เคยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ จังหวัดทางภาคใต้ทั่วไป แต่ในปัจจุบันลิเกป่านั้นมีเหลืออยู่น้อยมาก ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เดิมลิเกป่า จะมีแสดง ให้ดูทุกงาน ไม่ว่าจะเป็นงานวัด บวชนาค หรืองานศพ โดยมีเครื่องดนตรีประกอบการแสดง 3 อย่าง คือ กลองรำมะนา 1 ถึง 2 ใบ กรับ 1 คู่ และ ฉิ่ง 1 คู่ บางคณะอาจจะมีโหม่ง และทับด้วย ลิเกป่าจะมีนายโรงเช่นเดียวกับหนังตะลุง และมโนราห์ และโรง สำหรับการแสดงก็คล้ายกับโรงมโนราห์ ผู้แสดงลิเกป่า ในคณะหนี่งๆ จะมีประมาณ 6-8 คน ถ้ารวมลูกคู่ด้วย ก็จะมีจำนวนคนพอ ๆกับมโนราห์หนึ่งคณะ การแสดงลิเกป่าจะเริ่มด้วยการโหมโรง “เกริ่นวง” ต่อจากเกริ่นวง แขกขาวกับแขกแดงจะออกมาเต้นและร้องเพลงประกอบ โดยลูกคู่จะรับไปด้วย หลังจากนั้นจะมีผู้ออกมาบอกเล่าเรื่อง แล้วก็จะเริ่มแสดงต่อ
1. ลิเกบันตน เริ่มด้วยร้องเพลงบันตน (เพี้ยนจาก ปันตน) เป็นภาษามาลายูก่อน ต่อมาก็แทรกคำไทยเข้าไปบ้าง ดนตรีก็ใช้กลองรำมะนา จากนั้นก็แสดงเป็นชุด ๆ ต่างภาษา เช่น แขก ลาว มอญ พม่า ต้องเริ่มด้วยชุดแขกเสมอ ผู้แสดงแต่งตัวเป็นชาติต่าง ๆ ร้องเอง พวกตีรำมะนาเป็นลูกคู่ มีการร้องเพลงบันตน แทรกอยู่ในระหว่างการแสดงแต่ละชุด
3. ลิเกทรงเครื่อง เป็นการผสมผสาน ระหว่างลิเกบันตนและลิเกลูกบท มีท่ารำเป็นระเบียบแบบแผน แต่งตัวคล้ายละครรำ แสดงเป็นเรื่องยาวๆ อย่างละคร โดยเริ่มด้วยการโหมโรงและบรรเลงเพลงภาษาต่างๆ เรียกว่า "ออกภาษา" หรือ “ออกสิบสองภาษา” เพลงสุดท้ายเป็นเพลงแขก“ออกแขก” พอปี่พาทย์หยุดเล่น พวกตีรำมะนาก็ร้องเพลงบันตน แล้วแสดงชุดแขก เป็นการคำนับครู ใช้ดนตรีปี่พาทย์รับ ต่อจากนั้นก็แสดงตามเนื้อเรื่อง ลิเกที่แสดงจนในปัจจุบันเป็นลิเกทรงเครื่อง
bottom of page