
ลิเก เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านของคนไทย เกิดขึ้นในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า ลิเก เพี้ยนมาจากคำว่า ซิเกร์ ในภาษาเปอร์เซีย อันหมายถึงการอ่านบทสรรเสริญเป็นการรำลึกถึงอัลลอฮ์ พระเจ้าในศาสนาอิสลาม พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ (สวาสดิ์ กิตติมา) วัดใหม่กรงทอง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ได้กล่าวถึงลิเกไว้ ว่า พวกมุสลิมนิกายชีอะห์ หรือเจ้าเซ็นจากเปอร์เซีย นำสวดลิเกที่เรียกว่า ดิเกร์ เข้า มาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 4 กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรง บันทึกว่า ยี่เกนั้น เพี้ยนมาจาก จิเก
ในบันทึกกล่าวว่า พวกแขกเจ้าเซ็นได้ สวดถวายตัวในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อ พ.ศ. 2423 และต่อมาคิดสวดแผลงเป็นลำนำต่าง ๆ คิดลูกหมดเข้าแกมสวด ร้องเป็นเพลงต่างภาษา และทำตัวหนังเชิด โดยเอารำมะนาเป็นจอ ลิเกจึงกลายเป็นการเล่นขึ้น ต่อมามีผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร
![]() | ![]() | ![]() |
---|---|---|
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() |